GMO ภัยมืด
GMO ( Genetically modified oraganisms) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรม (DNA) ซึ่งพืชที่ถูกตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมนี้สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นพัฒนาการใหม่ที่ดี แต่กลับมีภัยมืดที่แฝงอยู่ เนื่องจากในขบวนการทำจะมีการตัดต่อและนำยีนส์ตัวใหม่ใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่นพืช เพื่อให้สามารถทนต่อยาฆ่าแมลง หรือทำให้สามารถฆ่าแมลงศัตรูพืชที่อาศัยกินพืชชนิดนั้น ปัญหาที่กลัวคือ สามารถมีการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมข้ามชนิดพันธุ์ (species) ได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกับสุขภาพคุณโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณกินเนื้อวัวหรือดื่มนมวัว ซึ่งวัวตัวนั้นกินข้าวโพดที่ผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมซึ่งสามารถทนต่อยาฆ่าแมลงได้ในปริมาณมาก นั่นหมายถึงคุณจะได้รับยาฆ่าแมลงจำนวนนั้นเข้าไปด้วย และแน่นอนสารเคมีเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบกับระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะภูมิแพ้ หรือแม้แต่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้
ในอเมริกา เกือบ 70%ของพืชที่วางขายตามซุปเปอร์มาเกตเป็นพืชที่ถูกตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรม เนื่องจากรัฐบาลของอเมริกาไม่ได้สนใจถึงผลกระทบในระยะยาวของพืชGMOที่อาจมีต่อมนุษย์ และเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบในระยะยาว ในส่วนของรัฐบาลอังกฤษยังไม่อนุญาตให้มีการจำหน่ายพืชGMOอย่างเสรี เนื่องจากผลการวิจัยที่มีอยู่ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า อาหารที่มาจากการดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมมีโอกาสเป็นพิษ และเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย และยังทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น
จากการศึกษาของ Dr. Pusztai ในปี 1998-1999 ในหนู หลังจากทดลองให้หนูกลุ่มหนึ่ง กินมันฝรั่งที่ผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมเป็นเวลา 10 วัน พบว่าอวัยวะต่างๆ ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันของหนูกลุ่มนี้ถูกทำลาย ในขณะที่หนูอีกกลุ่มกินมันฝรั่งธรรมดานั้น ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ เขาจึงสรุปว่า ขบวนการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงทำให้มันฝรั่งกลายเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนักวิทยาศาตร์ได้ตั้งเป็นสมมุติฐานว่า มีการติดเชื้อไวรัสที่ทำลายเซลล์เยื่อบุลำไส้ของหนูซึ่งเป็นผลมาจากการตัดต่อรหัสทางพันธุกรรมของพืช
ในวันที่ 17 พฤษภาคม 1999 สมาคมการแพทย์ของอังกฤษ ได้ออกประกาศเตือนอย่างเป็นทางการว่า อาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมนั้น สามารถก่อให้เกิดสิ่งแปลกปลอมชนิดใหม่ในมนุษย์ ตลอดจนมีผลทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะอีกด้วย
ในปลายปี 1999 จากเอกสารของ Ronnie Cummins ที่ออกแถลงการณ์จากนักวิทยาศาตร์ 231 คน กว่า 31 ประเทศ เชื่อว่าไวรัสที่ใช้ตัดต่อพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้
อย่างไรก็ตาม การศึกษา ทดลองเกี่ยวกับเรื่องอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรม ยังมีน้อย ทุกวันนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าอาหารประเภทนี้ปลอดภัยกับเราหรือไม่......
สำหรับผลกระทบของ GMO ต่อสิ่งแวดล้อม พืชผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมใหม่นี้ไปยังพืชชนิดอื่นได้ และที่เลวร้ายขึ้นอีกคือ เมื่อมีการแพร่พันธุ์จะเกิดการกลายพันธุ์ได้ จากการศึกษาของ Jame Kling ปี 1994 พบว่าต้น mustard มียีนส์ของต้น canola ที่ผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรมให้ทนต่อยาฆ่าแมลงทั้งที่อยู่ในไร่ที่ห่างกันเข้ามาปนเปื้อน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ละอองของพืชเหล่านี้สามารถไปได้ไกลถึง 3 ไมล์ นอกจากนี้ในปี 1999 นักวิทยาศาตร์ของมหาวิทยาลัย Cornell ได้ทำการตรวจผีเสื้อที่กินใบไม้ที่มีละอองของข้าวโพด GMO ปนเปื้อน พบว่าผีเสื้อถึง 44%ตาย ส่วนที่เหลือพบว่าน้ำหนักลดลงถึง 60% อย่างไรก็ตามผลในระยะยาวของพืช GMO ต่อพื้นดิน แมลง สัตว์ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกว่าไม่น่าจะปลอดภัยนัก
ปัจจุบันนี้ ในประเทศทางยุโรปและในญี่ปุ่น มีข้อกำหนดว่าอาหารใดก็ตามที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อและดัดแปลงรหัสทางพันธุกรรม ต้องติดฉลากให้ผู้บริโภคทราบ เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือกได้ ถึงแม้ว่าในอเมริกา จะยังไม่มีมาตรการนี้มาใช้
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก GMO ที่มีแพร่หลายในท้องตลาด ได้แก่ แอสพาแตม (สารให้ความหวานแทนน้ำตาล) ข้าวโพด ฝ้าย ผลิตภัณฑ์จากนม มะละกอ มันฝรั่ง ถั่ว มะเขือเทศ
• แอสพาเตม เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล พบได้ในเครื่องดื่ม เช่นน้ำอัดลม น้ำหวาน วิตามินสำหรับเด็ก ยา หมากฝรั่ง ลูกอม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันต่ำ (low fat product) เช่น แยม เจลลี่
• ข้าวโพด : ผลิตผลจากข้าวโพด ในรูปของซุปข้าวโพด น้ำตาลข้าวโพด แป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด รวมถึง วิตามินซี มันฝรั่งทอด ลูกอม หมากฝรั่ง ไอศกรีม น้ำสลัด ซอสมะเขือเทศ ขนมปัง คุกกี้ ธัญพืชอาหารเช้า (cereal) แป้งทำขนม แอลกอฮอล์ วานิลา มาการีน ซอสถั่วเหลือง โซดา อาหารทอด พาสตา ทั้งนี้น้ำตาลจากข้าวโพดมีทั้งในรูปของเดร็กโตรส กูลโคส มอสโตส ซูโครส และน้ำตาลที่เติมในผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลม นอกจากนี้ยังพบในสารปรุงแต่งรสในมันฝรั่ง& แฮม ในเนื้อไก่ที่ชื่อว่า มอลโตเดร็กตริน (Maltodextrin) ที่สกัดจากข้าวโพด
• ฝ้าย :น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย ซึ่งเป็นน้ำมันพืชชนิดหนึ่ง พบได้ในมันฝรั่งทอด เนยถั่ว แครกเกอร์ คุกกี้
• ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม : นม ชีส เนย ซาวน์ครีม โยเกริ์ต รวมถึงน้ำนมที่ได้จากวัวที่ฉีดโกทฮอร์โมน (rBGH)
• มะละกอ และผลไม้อื่นๆ ได้แก่ แอปเปิ้ล องุ่น สเตอเบอรี่ ซึ่งผลไม้กลุ่มนี้จะพบว่ามียาฆ่าแมลงจำนวนมาก นอกจานี้ยังพบในสับปะรด กล้วย แตงเมลอน
• มันฝรั่ง : รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีมันฝรั่งเป็นองค์ประกอบ เช่น มันฝรั่งแผ่นทอด มันฝรั่งอบ พายมันฝรั่งรวมมิตร ซุปมันฝรั่ง
• ถั่ว : รวมทั้งเลซิติน (lecithin) ซอสถั่ว โปรตีนถั่ว แป้วถั่ว และจีนิสเตน (genistein) ซึ่ง Lecithin E322 นิยมใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มขนมปังและเบเกอรี่ ช็อคโกแลต มายองเนส นมผง ครีม ชีสสเปรด (cheese spread) พาสต้าสด นอกจากนี้ยังพบในเต้าหู้ ซีเรียล เบอเกอร์ผัก
• มะเขือเทศ : ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศพันธุ์พื้นเมือง หรือแม้แต่มะเขือเทศเชอรี่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะเขือเทศ เช่น ซอส พิซซา ลาซานย่า และอาหารอิตาเลียน อาหารเม็กซิโก
รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีGMO เป็นองค์ประกอบได้แก่
o ซีรีแลค (Cerelac) อาหารเด็กของบริษัทNestle
o เนสวิต้า (Nesvita) เครื่องดื่มธัญหารของบริษัทNestle
o กู๊ดทาม ( Goodtime) เครื่องดื่มธัญหาร
o คนอร์ ซุปถ้วย ( Knorr cup soup) ครีมซุปข้าวโพด
o นิชชิน บะหมี่ถ้วย ( Nissin cup noodle)
o เลย์สแตค ( Lay’s stax) มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ
o พริงเกิลล์ (Pringles snack) มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ
o High class VITA-TOFU soy bean
o นาบิสโก้ ชิพส์อะฮอย ( Chips Ahoy) คุกกี้ช็อกโกแลตชิพ
o Ensure complete ของบริษัท Abbott
o Frisosoy soy-protein สูตรเด็กอ่อน ของบริษัท Friesland Nutrition
o นมผง S-26 ของบริษัทWyeth
o Isomil infant formula
o Gerber Mixed Fruits
o Gerber Cream of Brown rice
o Gerber Green Monggo
o Kellog’s Chocos Chex
o Farina’s hot wheat cereal
o Bonus Vienna franks
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น