วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การผสมเทียม


การผสมเทียม (Artificial insemination)
          การผสมเทียม (Artificial insemination) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การผสมพันธุ์ด้วยวิธีฉีดน้ำอสุจิเข้าอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมีย โดยไม่ได้ร่วมสัมพันธ์ทางเพศกัน
          นอกจากนี้ การผสมเทียมยังหมายถึง การขยายพันธุ์สัตว์ ด้วยเทคนิคที่สามารถป้องกันการแพร่โรคทางการสืบพันธุ์
ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงวิธีการผสมเทียม ควรทราบถึงประวัติและวิวัฒนาการของงานผสมเทียมเสียก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องการผสมเทียมเพื่อพัฒนางานผสมเทียมต่อไป
          ประวัติงานผสมเทียม
          การผสมเทียม ได้เริ่มกำเนิดขึ้นในโลก ประมาณปี พ.ศ.1865 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอาหรับ ได้ทำการผสมเทียมม้าเป็นผลสำเร็จ โดยใช้น้ำเชื้อม้าที่ติดที่หนังหุ้มลึงค์ นำมาผสมให้กับแม่ม้าที่กำลังเป็นสัด ทำให้แม่ม้าตั้งท้องและคลอด
ปี  พ.ศ. 2220 ลีเวนฮุค(Leeuwenhoek) และแฮมม์(Hammได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำเชื้อของสัตว์ตัวผู้ จึงได้ตั้งชื่อว่าเอนิมัลคู(Animalcule) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในขณะนั้น ยังไม่ทราบว่าสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำเชื้อของสัตว์ตัวผู้คืออะไร
ปี พ.ศ. 2323 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี  ชื่อลาซาโล (Lazarro Spallanzani) ได้เขียนผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลสำเร็จของการผสมเทียม โดยได้ทำการผสมเทียมสุนัข ได้ลูกสุนัขที่เกิดจากการผสมเทียม ตัว และได้ทดลองแยกน้ำเชื้อโดยการกรอง พบว่า ส่วนของน้ำเชื้อที่ผ่านเครื่องกรองออกมานั้น ถ้านำไปฉีดในแม่สัตว์ที่กำลังเป็นสัด ปรากฎว่าผสมไม่ติด แต่ถ้าเอาส่วนบนที่ติดกับเครื่องกรองไปผสม ปรากฎว่าผสมติดดีขึ้น และยังพบว่า ถ้าทำให้น้ำเชื้อเย็นลงระดับหนึ่ง จะสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานมากขึ้น
ปี พ.ศ. 2457 ศาสตราจารย์ อะเมนเทีย(Prof.Amantea) ได้ทำการประดิษฐ์อวัยวะเพศเมียเทียมของสุนัข (Artificial vagina) เพื่อใช้ในการรีดเก็บน้ำเชื้อจากพ่อสุนัข จนเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์อวัยวะเพศเมียเทียมของสัตว์ชนิดอื่น ๆ  
ปี พ.ศ. 2479 นักวิทยาศาสตร์ของประเทศเดนมาร์ค เริ่มพัฒนาการผสมเทียมโคนม โดยใช้วิธีล้วงเข้าทางทวารหนัก (Rectovaginal insemination) โดยใช้มือล้วงเข้าทางทวารหนักจับคอมดลูก(Cervix) แล้วใช้ปืนฉีดน้ำเชื้อสอดผ่านช่องคลอด ผ่านคอมดลูก(Cervix) จนไปถึงตัวมดลูก(Body of Uterus) และฉีดน้ำเชื้อในมดลูกทำให้อัตราการผสมติดดีขึ้น
หลังจากนั้น งานผสมเทียมได้มีการขยายมากขึ้น และกระจายไปสู่สัตว์ต่าง ๆ มีการผสมเทียมสุนัข ม้า โค แพะ แกะ จนสามารถให้กำเนิดลูกสัตว์ได้นับแสนตัว
ปี พ.ศ. 2483 ได้มีการพัฒนาน้ำเชื้อ โดยฟิลลิป(Philips) และลาดี้(Lardy) ได้ทดลองนำไข่แดงผสมเป็นสารเจือจางน้ำเชื้อ พบว่าสามารถป้องกันอันตรายของตัวอสุจิในการลดอุณหภูมิของน้ำเชื้อ และทำให้สามารถเก็บน้ำเชื้อได้นาน 2-3 วัน
ปี  พ.ศ. 2484 ซาลิสเบอรี่(Salisburyและคณะ ทดลองใช้โซเดียม ซิเตรท(Sodium citrate) และ ไข่แดง เป็นบัฟเฟอร์(buffer) ในสารเจือจางน้ำเชื้อ สามารถเพิ่มปริมาตรน้ำเชื้อ และแบ่งน้ำเชื้อไปผสมเทียมให้กับสัตว์ได้มากตัว
ปี พ.ศ. 2489  อรัมคริส(Alamquist) และคณะ ได้ทดลองเติมยาปฏิชีวนะลงไปในสารเจือจางน้ำเชื้อ พบว่าสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในน้ำเชื้อได้ดี
ปี พ.ศ. 2492  ซี โพล(C.Polge) และคณะ ชาวอังกฤษ ได้ทำการแช่แข็งน้ำเชื้อได้สำเร็จโดยเก็บน้ำเชื้อในน้ำแข็งแห้งอุณหภูมิ -79 องศาเซลเซียส
ปี พ.ศ. 2495 พอล(Polge) และโรสัน(Rowson) ได้พบว่า การเติมกลีเซอรอล ลงในสารเจือจางน้ำเชื้อ จะช่วยให้อสุจิรอดชีวิตจากการเก็บที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเริ่มในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง
บิดาแห่งการผสมเทียม
            การผสมเทียมในประเทศไทยเริ่มขึ้นโดย ในปี พ..2496 ศาสตราจารย์นีลล์ ลาเกอร์ลอฟ ชาวสวีเดน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากเอฟ.เอ.โอได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย โดยทุนของ เอฟ.เอ.โอจากนั้นได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายโครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียมในประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ของ โครงการฯ คือ เพื่อให้ประเทศไทย สามารถผลิตน้ำนมได้เองภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ (มูลค่านำเข้าขณะนั้นประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ)
            หลังจากนั้น ในปี พ.. 2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งข้าราชการ 2 นายคือ นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ และนายสัตวแพทย์อุทัย สาลิคุปต์ โดยทุน เอฟ.เอ.โอไปศึกษาอบรมนานาชาติ ณ ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดน ได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมวิชาการสืบพันธุ์ รวมทั้งการผสมเทียมขึ้นเป็นรุ่นแรก
            หลังจากนายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ศึกษาวิชาการสืบพันธุ์และผสมเทียม  ณ ประเทศสวีเดนสำเร็จ และเดินทางกลับประเทศไทย ท่านได้เริ่มต้นด้วยการพยายามก่อตั้งสถานีผสมเทียม เพื่อให้บริการผสมเทียมแก่ปศุสัตว์ของเกษตรกร รวมถึงพยายามถ่ายทอดความรู้ด้านการผสมเทียมแก่นักวิชาการของกรมปศุสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง จนในปี พ.. 2499 กรมปศุสัตว์จึง ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าสถานีผสมเทียมดังกล่าว
จากที่การปฏิบัติงานผสมเทียมในระยะต้น ๆ ยังไม่มีงบประมาณสนับสนุน นายสัตวแพทย์ทศพร ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะประยุกต์ดัดแปลงเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ สำหรับปฏิบัติงานผสมเทียมโดยไม่ต้องซื้อหาจากต่างประเทศ จนสามารถประยุกต์อุปกรณ์ที่มี นำมาปฏิบัติงานผสมเทียมได้ และในวันที่ กันยายน พ.. 2499 นายสัตวแพทย์ทศพร ได้ผสมเทียมให้แม่โคตัวแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแม่โคของนายนคร ผดุงกิจ เป็นผลสำเร็จ แม่โคดังกล่าวได้ตั้งท้องและต่อมาคลอดลูกเป็นลูกโคเพศเมีย ดังนั้น ในวันที่ กันยายน ของทุก ๆ ปี จึงถือเป็นวันกำเนิดงานผสมเทียมของประเทศไทย
            ในปี  .. 2501 สถานีผสมเทียมแห่งที่สองได้ตั้งขึ้นที่หน่วยผสมเทียมกลางในกรมปศุสัตว์ โดยมีนายสัตวแพทย์ประเสิรฐ ศงสะเสน เป็นหัวหน้าสถานีผสมเทียมกรุงเทพมหานคร ซึ่งนายสัตวแพทย์ประเสริฐ ได้พัฒนาและปรับปรุงพื้นฐานการเลี้ยงโคนมและการผสมเทียมในกรุงเทพมหานครตามรอยของนายสัตวแพทย์ทศพรที่สร้างไว้ จนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น