1. โรคเก่ายี่ห้อใหม่
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ เรามักจะคุ้นหูกับชื่อ “โรคตับอักเสบ” “โรคดีซ่าน” “ไวรัสลงตับ” “ไวรัสตับอักเสบ บี” และ “ไวรัส บี” กันมาก เพราะได้มีการแพร่กระจายข่าวทางสื่อมวลชนถึงเรื่องราวของโรคนี้อย่างมากมายจนทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่ามีการระบาดของโรคใหม่อีกชนิดหนึ่งที่น่ากลัวแบบโรคเอดส์เกิดขึ้นกันอีกแล้ว ที่จริงแล้วโรคนี้ (ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังกล่าว) เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณดังที่คนไทยเรา เรียกว่า “โรคดีซ่าน” นั่นเอง ความจริง “ดีซ่าน” หมายถึงอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่าง แต่ส่วนมากเกิดจากโรคตับอักเสบ เมื่อพูดถึง “โรคดีซ่าน” จึงมักจะหมายถึง โรคตับอักเสบโดยปริยาย
แพทย์รู้มานานแล้วว่า โรคตับอักเสบนี้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโรคในตระกูลไวรัส จึงเรียกชื่อว่า “โรคตับอักเสบจากไวรัส” มาในระยะ 20 กว่าปีมานี้แพทย์สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นตัวก่อโรคนี้ได้ และพบว่ามีอยู่หลายตัว จึงได้ตั้งชื่อว่า “ไวรัส เอ” บ้าง “ไวรัส บี” บ้าง และอื่น ๆ อีกหลายชื่อ
เชื้อไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิด ถึงแม้จะทำให้เกิดอาการตับอักเสบคล้าย ๆ กัน แต่ก็มีลักษณะการติดต่อของโรค และความรุนแรงหรืออันตรายมากน้อยแตกต่างกันไป
ตัวที่มีอันตรายมากที่สุดที่จะกล่าวในบทความนี้ ก็คือ เจ้าไวรัส ที่ถูกขนานนามว่า “ไวรัส บี” (เรียกชื่อเต็มว่า “ไวรัสตับอักเสบบี”) ที่กำลังเป็นพระเอกโด่งดังอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากอาจทำให้เป็นโรคเรื้อรัง และซ่อนตัวอยู่ในคนได้นาน ตลอดจนอาจมีผลทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับตายได้
และที่สำคัญกว่านั้น คือ ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มียารักษา ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนมากจะหายได้เอง ส่วนน้อยจะเกิดอันตราย จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาประคับประคองให้ผ่านระยะรุนแรงของโรค เวลาเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการผลิตวัคซีนใช้ฉีดป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสตัวนี้อย่างได้ผล จึงกลายเป็นความหวังใหม่ในการควบคุมโรคนี้ และได้มีการกล่าวขวัญถึงเรื่องนี้กันอย่างคึกโครมโดยนักวิชาการที่ต้องการให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคนี้ รวมทั้งโดยอิทธิพลของผู้ผลิตและจำหน่ายวัคซีนที่หวังผลทางการค้า
แพทย์รู้มานานแล้วว่า โรคตับอักเสบนี้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโรคในตระกูลไวรัส จึงเรียกชื่อว่า “โรคตับอักเสบจากไวรัส” มาในระยะ 20 กว่าปีมานี้แพทย์สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นตัวก่อโรคนี้ได้ และพบว่ามีอยู่หลายตัว จึงได้ตั้งชื่อว่า “ไวรัส เอ” บ้าง “ไวรัส บี” บ้าง และอื่น ๆ อีกหลายชื่อ
เชื้อไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิด ถึงแม้จะทำให้เกิดอาการตับอักเสบคล้าย ๆ กัน แต่ก็มีลักษณะการติดต่อของโรค และความรุนแรงหรืออันตรายมากน้อยแตกต่างกันไป
ตัวที่มีอันตรายมากที่สุดที่จะกล่าวในบทความนี้ ก็คือ เจ้าไวรัส ที่ถูกขนานนามว่า “ไวรัส บี” (เรียกชื่อเต็มว่า “ไวรัสตับอักเสบบี”) ที่กำลังเป็นพระเอกโด่งดังอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากอาจทำให้เป็นโรคเรื้อรัง และซ่อนตัวอยู่ในคนได้นาน ตลอดจนอาจมีผลทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับตายได้
และที่สำคัญกว่านั้น คือ ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มียารักษา ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนมากจะหายได้เอง ส่วนน้อยจะเกิดอันตราย จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาประคับประคองให้ผ่านระยะรุนแรงของโรค เวลาเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการผลิตวัคซีนใช้ฉีดป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสตัวนี้อย่างได้ผล จึงกลายเป็นความหวังใหม่ในการควบคุมโรคนี้ และได้มีการกล่าวขวัญถึงเรื่องนี้กันอย่างคึกโครมโดยนักวิชาการที่ต้องการให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคนี้ รวมทั้งโดยอิทธิพลของผู้ผลิตและจำหน่ายวัคซีนที่หวังผลทางการค้า
2. โรคนี้มีการระบาดจริงหรือ
จะว่าไปแล้วโรคตับอักเสบจากไวรัส บี (โรคไวรัสตับอักเสบ บี ก็เรียกกัน) นี้เป็นโรคที่พบกันมากในบ้านเรามานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีการระบาด
ในคนไทย พบว่า ในคนทั่วไปทุก ๆ 100 คน จะมีคนที่เป็นพาหนะนำโรคนี้อยู่ประมาณ 10 คน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือในคนไทยทุก ๆ 10 คนจะมีคนที่เป็นพาหนะโรคนี้ 1 คน ที่ว่าเป็นพาหนะนำโรคก็หมายถึงว่า เป็นคนที่มีไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ในร่างกายโดยไม่ได้เป็นโรคแต่อย่างใด แต่จะแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ คะเนกันว่า ในขณะนี้มีคนไทยที่เป็นพาหนะนำโรคนี้อยู่ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนทั่วโลกจะมีคนที่เป็นพาหนะของไวรัสตับอักเสบ บี ประมาณว่า 200 ล้านคน ซึ่งจะพบมากในบริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกา ตอนใต้ของประเทศจีน ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาทั้งสิ้น เฉลี่ยแล้วคนในแถบนี้ในทุก ๆ 100 คนจะมีคนที่เป็นพาหนะของโรคนี้อยู่ 5-15 คน และในผู้ใหญ่ทุก ๆ 100 คน จะมีคนที่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี นี้มาแล้ว 50 คน คือครึ่งต่อครึ่งนั่นเอง
จะว่าไปแล้วโรคตับอักเสบจากไวรัส บี (โรคไวรัสตับอักเสบ บี ก็เรียกกัน) นี้เป็นโรคที่พบกันมากในบ้านเรามานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีการระบาด
ในคนไทย พบว่า ในคนทั่วไปทุก ๆ 100 คน จะมีคนที่เป็นพาหนะนำโรคนี้อยู่ประมาณ 10 คน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือในคนไทยทุก ๆ 10 คนจะมีคนที่เป็นพาหนะโรคนี้ 1 คน ที่ว่าเป็นพาหนะนำโรคก็หมายถึงว่า เป็นคนที่มีไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ในร่างกายโดยไม่ได้เป็นโรคแต่อย่างใด แต่จะแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ คะเนกันว่า ในขณะนี้มีคนไทยที่เป็นพาหนะนำโรคนี้อยู่ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนทั่วโลกจะมีคนที่เป็นพาหนะของไวรัสตับอักเสบ บี ประมาณว่า 200 ล้านคน ซึ่งจะพบมากในบริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกา ตอนใต้ของประเทศจีน ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาทั้งสิ้น เฉลี่ยแล้วคนในแถบนี้ในทุก ๆ 100 คนจะมีคนที่เป็นพาหนะของโรคนี้อยู่ 5-15 คน และในผู้ใหญ่ทุก ๆ 100 คน จะมีคนที่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี นี้มาแล้ว 50 คน คือครึ่งต่อครึ่งนั่นเอง
3. เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อกันทางไหนได้บ้าง
เชื้อนี้พบมีอยู่ในเลือดมากที่สุด รองลงมาก็อยู่ในน้ำลาย, น้ำตา, น้ำอสุจิ, น้ำเมือกในช่องคลอด, น้ำดี และน้ำนมเช่นเดียวกับเชื้อเอดส์ แทบจะกล่าวได้ว่ามีการติดต่อแบบเดียวกับโรคเอดส์ทุกประการ ได้แก่
เชื้อนี้พบมีอยู่ในเลือดมากที่สุด รองลงมาก็อยู่ในน้ำลาย, น้ำตา, น้ำอสุจิ, น้ำเมือกในช่องคลอด, น้ำดี และน้ำนมเช่นเดียวกับเชื้อเอดส์ แทบจะกล่าวได้ว่ามีการติดต่อแบบเดียวกับโรคเอดส์ทุกประการ ได้แก่
1. ติดต่อโดยทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อจากการถ่ายเลือด ดังนั้นจึงมีข้องห้ามสำหรับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไม่ให้บริจาคเลือด และเลือดที่จะถ่ายให้คนไข้ทุกขวดจะต้องผ่านการตรวจเชื้อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เสียก่อน
2. โดยเข็มฉีดยา ซึ่งเปรอะเปื้อนเลือดของคนที่มีเชื้อแล้วนำไปฉีดให้คนอื่น ทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อออกไป ดังนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาโดยไม่จำเป็น และถ้าจะฉีดยาควรเลือกใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่ปราศจากเชื้อ เช่น เข็มที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือเข็มที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อมาแล้ว
3. โดยการใช้ของใช้ร่วมกันกับผู้ป่วยในลักษณะที่มีการสัมผัสถูกเลือด น้ำเหลือง หรือน้ำลาย เช่น มีดโกน, หวี, แปรงสีฟัน เป็นต้น รวมทั้งการเจาะหู, การสัก และการฝังเข็มที่นิยมใช้อุปกรณ์ร่วมกันหลาย ๆ คน จึงเป็นหนทางของการแพร่เชื้อได้มากเช่นกัน
4. โดยการร่วมเพศ (จึงนับเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง) และการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกันจริง ๆ โดยเฉพาะกับคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน
5. โดยการแพร่เชื้อจากแม่ไปยังลูกขณะคลอด ซึ่งเป็นทางติดต่ออันสำคัญและเป็นอันตรายต่อทารกนั้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
ส่วนทางอาหารและน้ำดื่มนั้นมีการติดต่อได้น้อยมาก จึงไม่ต้องตื่นตกใจกลัวว่าจะติดโรคไวรัสตับอักเสบ บี จากอาหารการกิน แต่อย่างไรก็ตาม ในการกินอาหารร่วมกับคนที่เป็นพาหะ (หรือคนทั่วไปที่เราไม่แน่ใจว่าจะเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี หรือไม่) การใช้ช้อนกลางก็ช่วยให้เกิดความสบายใจมากขึ้น เพราะนอกจากจะลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากน้ำลายของผู้เป็นพาหะแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย การใช้ช้อนกลาง จึงนับว่าเป็นสุขนิสัยทีพึงปฏิบัติเป็นประจำบนโต๊ะอาหาร
เพื่อนร่วมงาน ครู แม่ครัว ผู้บริการในร้านอาหาร หรือคนรู้จักทั่วไป แทบจะไม่มีโอกาสแพร่เชื้อนี้ได้เลย
เพื่อนร่วมงาน ครู แม่ครัว ผู้บริการในร้านอาหาร หรือคนรู้จักทั่วไป แทบจะไม่มีโอกาสแพร่เชื้อนี้ได้เลย
4. เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
ดังได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่า โดยเฉลี่ย ในผู้ใหญ่ทุก ๆ 2 คนจะมี 1 คนที่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มาแล้ว ผู้อ่านอาจรู้สึกตกใจว่า ถ้าอย่างนั้นในบ้านของตัวเองก็อาจจะมีคนที่รับเชื้อมาแล้วซิ
ก็คงต้องขออธิบายเพิ่มเติมให้กระจ่างว่า เมื่อคนเรารับเชื้อนี้มาแล้ว ก็หาได้หมายความว่าจะกลายเป็นโรคนี้หรือเกิดอันตรายไปเสียทุกคนไม่
ตรงกันข้าม คนส่วนมากเมื่อรับเชื้อมาแล้วร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาฆ่าเชื้อนี้ได้ จึงไม่กลายเป็นโรคตับอักเสบ และจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ได้ตลอดไป ซึ่งเราสามารถตรวจเลือดดูได้ว่ามีภูมิต้านทานต่อโรคนี้หรือไม่
ประมาณ 1 คนใน 8 คนที่รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะกลายเป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน อันเนื่องจากร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายได้ คนไข้จะมีอาการอ่อนเพลียและดีซ่าน (ตาเหลือง, ตังเหลือง) บางคนอาจมีอาการเป็นไข้คล้ายไข้หวัดนำมาก่อน เมื่อไข้ลดจึงเริ่มมีอาการตาเหลือง, ตัวเหลือง, ปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีขมิ้น ซึ่งจะเป็นอยู่ 2-3 สัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วคนไข้ส่วนมากก็จะค่อย ๆ หายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาอะไร (เพราะยังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยตรง) มีเพียงส่วนน้อย (ราวหนึ่งในพันหรือหนึ่งในหมื่น) ที่อาจเป็นรุนแรงถึงทำให้ตับเสีย (เซลล์ตับตายหรือตับวาย) มีอาการเพ้อคลั่ง, ซึม, ไม่ค่อยรู้สึกตัว, มีเลือดออกง่าย, มีน้ำในท้อง (ท้องมาน) ถ้าถึงขั้นนี้ ก็มักจะตายในที่สุด คือมีโอกาสตายประมาณ 7 คนใน 10 คน (ร้อยละ 70) ของผู้ติดเชื้อที่โชคร้ายมีอาการรุนแรง
ดังได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่า โดยเฉลี่ย ในผู้ใหญ่ทุก ๆ 2 คนจะมี 1 คนที่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มาแล้ว ผู้อ่านอาจรู้สึกตกใจว่า ถ้าอย่างนั้นในบ้านของตัวเองก็อาจจะมีคนที่รับเชื้อมาแล้วซิ
ก็คงต้องขออธิบายเพิ่มเติมให้กระจ่างว่า เมื่อคนเรารับเชื้อนี้มาแล้ว ก็หาได้หมายความว่าจะกลายเป็นโรคนี้หรือเกิดอันตรายไปเสียทุกคนไม่
ตรงกันข้าม คนส่วนมากเมื่อรับเชื้อมาแล้วร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาฆ่าเชื้อนี้ได้ จึงไม่กลายเป็นโรคตับอักเสบ และจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ได้ตลอดไป ซึ่งเราสามารถตรวจเลือดดูได้ว่ามีภูมิต้านทานต่อโรคนี้หรือไม่
ประมาณ 1 คนใน 8 คนที่รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะกลายเป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน อันเนื่องจากร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายได้ คนไข้จะมีอาการอ่อนเพลียและดีซ่าน (ตาเหลือง, ตังเหลือง) บางคนอาจมีอาการเป็นไข้คล้ายไข้หวัดนำมาก่อน เมื่อไข้ลดจึงเริ่มมีอาการตาเหลือง, ตัวเหลือง, ปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีขมิ้น ซึ่งจะเป็นอยู่ 2-3 สัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วคนไข้ส่วนมากก็จะค่อย ๆ หายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาอะไร (เพราะยังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยตรง) มีเพียงส่วนน้อย (ราวหนึ่งในพันหรือหนึ่งในหมื่น) ที่อาจเป็นรุนแรงถึงทำให้ตับเสีย (เซลล์ตับตายหรือตับวาย) มีอาการเพ้อคลั่ง, ซึม, ไม่ค่อยรู้สึกตัว, มีเลือดออกง่าย, มีน้ำในท้อง (ท้องมาน) ถ้าถึงขั้นนี้ ก็มักจะตายในที่สุด คือมีโอกาสตายประมาณ 7 คนใน 10 คน (ร้อยละ 70) ของผู้ติดเชื้อที่โชคร้ายมีอาการรุนแรง
คนไข้ที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลันบางคนอาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นแรมปี ซึ่งถ้าร่างกายแข็งแรงดี ก็สามารถหายขาดได้ในที่สุด แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอโรคก็อาจลุกลามจนกลายเป็นโรคตับแข็ง (มีอาการอ่อนเพลีย, ดีซ่าน และท้องมาน) หรือมะเร็งตับ (มีอาการอ่อนเพลีย, แน่นท้อง, น้ำหนักลดฮวบฮาบ และมีก้อนแข็งผิวขรุขระตรงใต้ชายโครงด้านขวา) ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้
คนที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี บางคนมีลักษณะก้ำกึ่งคือ ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หายขาด แต่ถ้ายังสามารถต้านไม่ให้กลายเป็นโรคตับอักเสบดังที่เรียกว่าเป็นพาหนะนั่นเอง ผู้ที่ตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ในร่างกาย นานเกิน 6 เดือนขึ้นไป เรียกว่า เป็นพาหนะของไวรัสตับอักเสบ บี โดยสามารถตรวจเลือดพิสูจน์ได้
5 .เมื่อเป็นพาหนะแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป
คนที่เป็นพาหนะโดยทั่วไปจะมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ ไม่มีอาการเจ็บป่วยของโรคตับอย่างใด และสามารถดำรงชีวิตเช่นคนธรรมดาทั่วไป เช่น สามารถออกกำลังกาย และกินอาหารได้ตามปกติทุกอย่าง จะรู้ตัวว่าเป็นพาหนะของโรคนี้ หรือไม่มีอยู่อย่างเดียวคือ ต้องเจาะเลือดตรวจ ซึ่งสามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ๆ
คนที่เป็นพาหนะโดยทั่วไปจะมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ ไม่มีอาการเจ็บป่วยของโรคตับอย่างใด และสามารถดำรงชีวิตเช่นคนธรรมดาทั่วไป เช่น สามารถออกกำลังกาย และกินอาหารได้ตามปกติทุกอย่าง จะรู้ตัวว่าเป็นพาหนะของโรคนี้ หรือไม่มีอยู่อย่างเดียวคือ ต้องเจาะเลือดตรวจ ซึ่งสามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ๆ
ทีนี้ปัญหามีว่า คนเหล่านี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
คำตอบก็คือ คนส่วนหนึ่งร่างกายสามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้ แต่คนอีกส่วนหนึ่ง อาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจกลายเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ คนส่วนหลังที่เคราะห์ร้ายนี้จะต้องกลายเป็นกลุ่มที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ในร่างกายเป็นเวลานานคือต้องใช้เวลาถึง 30 ปีจึงจะกลายเป็นโรคร้ายแรงดังกล่าว ก็หมายความว่าต้องรับเชื้อมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง
จากการติดตามศึกษาดูคนที่เป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบ บี ในคนไต้หวันเฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี จำนวน 3,454 คน โดยติดตามดูเป็นระยะเวลา 6 ปี 2 เดือนเศษ พบว่ามีผู้ที่เสียชีวิตจากมะเร็งตับ 113 คน หรือกล่าวโดยเฉลี่ยในทุก ๆ ปีในกลุ่มคนที่เป็นพาหะไวรัส 1,000 คน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับประมาณ 5 คน (หรือร้อยละ 0.5) ข้อมูลดังกล่าวนี้ใช้ได้เฉพาะกับคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และเป็นชายจีนเท่านั้น คนที่มีอายุน้อย (เช่น เด็ก) หรือผู้หญิงโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายดังกล่าวจะลดน้อยลงมาก
คำตอบก็คือ คนส่วนหนึ่งร่างกายสามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้ แต่คนอีกส่วนหนึ่ง อาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจกลายเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ คนส่วนหลังที่เคราะห์ร้ายนี้จะต้องกลายเป็นกลุ่มที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ในร่างกายเป็นเวลานานคือต้องใช้เวลาถึง 30 ปีจึงจะกลายเป็นโรคร้ายแรงดังกล่าว ก็หมายความว่าต้องรับเชื้อมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง
จากการติดตามศึกษาดูคนที่เป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบ บี ในคนไต้หวันเฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี จำนวน 3,454 คน โดยติดตามดูเป็นระยะเวลา 6 ปี 2 เดือนเศษ พบว่ามีผู้ที่เสียชีวิตจากมะเร็งตับ 113 คน หรือกล่าวโดยเฉลี่ยในทุก ๆ ปีในกลุ่มคนที่เป็นพาหะไวรัส 1,000 คน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับประมาณ 5 คน (หรือร้อยละ 0.5) ข้อมูลดังกล่าวนี้ใช้ได้เฉพาะกับคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และเป็นชายจีนเท่านั้น คนที่มีอายุน้อย (เช่น เด็ก) หรือผู้หญิงโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายดังกล่าวจะลดน้อยลงมาก
กล่าวโดยสรุปก็คือ สำหรับผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี แม้ว่าอาจจะกลายเป็นโรคร้ายแรงในภายหลังได้ แต่โอกาสเสี่ยงนั้นก็มีไม่มากนัก และจะต้องเป็นพาหะนานเป็น 20-30 ปีขึ้นไป
ดังนั้น ผู้ที่เป็นพาหะจึงไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ
ดังนั้น ผู้ที่เป็นพาหะจึงไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ
6. เป็นพาหะแล้วจะทำอย่างไรดี
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า เมื่อตรวจพบผู้เป็นพาหนะแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะแก่ตัวผู้ที่เป็นพาหนะเท่านั้น ยังมีผลถึงบุคคลข้างเคียงด้วย
ผู้ที่เป็นพาหนะมักจะเกิดความกลัวว่าจะเกิดโรคร้ายและกลัวว่าจะแพร่กระจายไปสู่คนที่ตนรัก รวมทั้งผลกระทบในสังคมอีกด้วย
เคยมีพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง มาปรึกษาถึงผลกระทบทางจิตใจว่า มีเพื่อนฝูงไปกินอาหารด้วยกัน พอทราบว่าเป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบ บี ทุกคนไม่ยอมไปกินอาหารด้วย ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ที่จริงน่าจะกลายเป็นการดีเสียอีกที่ทราบว่าตัวเองเป็นพาหนะจะได้ปฏิบัติตัวหาทางป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่กระจายโรคไม่ให้ไปสู่บุคคลข้างเคียงโดยเฉพาะในครอบครัว
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า เมื่อตรวจพบผู้เป็นพาหนะแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะแก่ตัวผู้ที่เป็นพาหนะเท่านั้น ยังมีผลถึงบุคคลข้างเคียงด้วย
ผู้ที่เป็นพาหนะมักจะเกิดความกลัวว่าจะเกิดโรคร้ายและกลัวว่าจะแพร่กระจายไปสู่คนที่ตนรัก รวมทั้งผลกระทบในสังคมอีกด้วย
เคยมีพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง มาปรึกษาถึงผลกระทบทางจิตใจว่า มีเพื่อนฝูงไปกินอาหารด้วยกัน พอทราบว่าเป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบ บี ทุกคนไม่ยอมไปกินอาหารด้วย ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ที่จริงน่าจะกลายเป็นการดีเสียอีกที่ทราบว่าตัวเองเป็นพาหนะจะได้ปฏิบัติตัวหาทางป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่กระจายโรคไม่ให้ไปสู่บุคคลข้างเคียงโดยเฉพาะในครอบครัว
แนวทางในการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เป็นพาหนะมีดังนี้คือ
1. บำรุงรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ที่เป็นพาหนะไม่มีความจำเป็นต้องงดการออกกำลังกาย และพึงทำกิจการต่าง ๆ ได้เช่นบุคคลธรรมดา กินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแยกกินอาหารและสามารถกินอาหารร่วมกับผู้อื่นได้ โดยใช้ช้อนกลาง
2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น เหล้า เบียร์ ยาบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อตับ สารพิษจากอาหารและเชื้อรา เป็นต้น
3. เมื่อมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ เช่น เท้าบวม, ท้องบวม, อุจาระเป็นสีดำ, ปวดท้อง, ตัวเหลืองตาเหลือง เป็นต้น
4. เฝ้าระวังการเกิดโรคร้าย โดยทั่วไปในเด็กที่อายุน้อยไม่มีความจำเป็น ในผู้ใหญ่สามารถทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และสารแอลฟ่าโตโปรตีน (alpha fetoprotein) ในเลือดซึ่งจะช่วยบ่งบอกว่าเกิดมะเร็งตับหรือไม่ โดยตรวจปีละครั้งและถี่ขึ้นในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
5. ป้องกันการแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นด้วยการงดบริจาคเลือด หรือแยกใช้เครื่องใช้ (เช่น มีดโกนหนวด, หวี และแปรงสีฟัน) เป็นการส่วนตัว ตลอดจนให้ภูมิต้านทานโรค ด้วยวัคซีนแก่บุคคลใกล้ชิดในบ้านที่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี
6. สำหรับแม่บ้านที่เป็นพาหะ เด็กที่เกิดมาทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่แรกเกิด ส่วนนมแม่ยังสามารถให้ทารกกินได้ตามปกติ เพราะไม่ว่าจะให้กินนมหรือนมผสมก็มีโอกาสติดโรคพอ ๆ กัน ข้อสำคัญอยู่ที่การป้องกันโรคด้วยวัคซีน
7. สำหรับการฉีดวัคซีนแก่ผู้ที่เป็นพาหะนับว่าไม่ได้ประโยชน์ เพราะไม่สามารถกำจัดเชื้อที่มีอยู่ในร่างกายให้หมดไปได้
7. ป้องกันอย่างไรให้ได้ผล
การป้องกันให้ได้ผลสำหรับคนทั่วไปที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ก็คือ
หลีกเลี่ยงจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนไข้หรือคนที่เป็นพาหะ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด, น้ำเหลือง, น้ำลายของคนที่เป็นพาหะ หรือคนไข้
ถ้าจะฉีดยา, เจาะเลือด, เจาะหู, สัก หรือฝังเข็ม ต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ เครื่องใช้ได้ผ่านการทำลายเชื้อมาก่อนแล้วอย่างดี
เชื้อตัวนี้จะทำลายโดยการต้มในน้ำเดือดตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป หรืออาจใช้โซเดียมไฮโปรคลอไรด์ (ที่รู้จักกันในนามของน้ำยาแช่ผ้าขาว) ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 0.5-2 เปอร์เซ็นต์ฆ่าเชื้อก็ได้
การกินอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยใช้ช้อนกลาง ก็เป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลอย่างหนึ่ง นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ก็มีการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี ที่จะได้ผลมาก
การป้องกันให้ได้ผลสำหรับคนทั่วไปที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ก็คือ
หลีกเลี่ยงจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนไข้หรือคนที่เป็นพาหะ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด, น้ำเหลือง, น้ำลายของคนที่เป็นพาหะ หรือคนไข้
ถ้าจะฉีดยา, เจาะเลือด, เจาะหู, สัก หรือฝังเข็ม ต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ เครื่องใช้ได้ผ่านการทำลายเชื้อมาก่อนแล้วอย่างดี
เชื้อตัวนี้จะทำลายโดยการต้มในน้ำเดือดตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป หรืออาจใช้โซเดียมไฮโปรคลอไรด์ (ที่รู้จักกันในนามของน้ำยาแช่ผ้าขาว) ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 0.5-2 เปอร์เซ็นต์ฆ่าเชื้อก็ได้
การกินอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยใช้ช้อนกลาง ก็เป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลอย่างหนึ่ง นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ก็มีการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี ที่จะได้ผลมาก
8. อันตรายร้ายแรงของโรคนี้อยู่ที่กลุ่มเด็กที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะ
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี หรือป่วยเป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส บี ในช่วงที่คลอดบุตร ทารกจะได้รับเชื้อโดยการสัมผัสกับเลือดแม่ ทารกที่รับเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ได้ ทำให้กลายเป็นพาหะเรื้อรังของโรคนี้ พบว่าทารกแรกเกิดทุก ๆ 100 คน ก็รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่ที่เป็นพาหะจะกลายเป็นพาหะถึง 50 คน (ร้อยละ 90)ในบ้านเรา โดยเฉลี่ยพบว่า ทารกเกิดใหม่โดยทั่วไปทุก ๆ 100 คนจะมีโอกาสเป็นพาหะประมาณ 3 คนทารกแรกเกิดที่รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่ตอนคลอดส่วนมากจะไม่มีอาการของโรคตับอักเสบ แต่จะกลายเป็นพาหะเรื้อรังนานหลายสิบปีหรือตลอดชีวิต
ตรงกันข้าม ผู้ใหญ่เมื่อรับเชื้อแล้วมีโอกาสจะเกิดอาการตับอักเสบได้มากกว่า คือประมาณ 1 ใน 8 ดังได้กล่าวมาแล้ว โอกาสที่จะกลายเป็นพาหะก็น้อยกว่าของทารกมาก และระยะเวลาของการเป็นพาหะก็มักจะสั้นกว่าของทารก เพราะส่วนใหญ่จะสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ดังนั้นทารกที่เป็นพาหะเมื่อย่างเข้าวัยกลางคนจึงมีโอกาสกลายเป็นโรคตับเรื้อรัง, ตับแข็ง และมะเร็งตับ ดังตัวอย่างการศึกษาในไต้หวันดังกล่าว ที่น่าสนใจก็คือ โอกาสเสี่ยงต่ออันตรายระหว่าผู้ชายกับผู้หญิง ก็ยังแตกต่างกัน
ในทางการเพศชายเมื่อโตขึ้นจะมีโอกาสเป็นโรคตับเรื้อรังรวมทั้งโรคมะเร็งตับได้มากกว่าเพศหญิง
ส่วนทารกเพศหญิงแม้ว่าโตขึ้น จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้องรังน้อยกว่าเพศชายก็ตาม แต่ก็มักจะกลายเป็นคุณแม่ที่เป็นพาหะและถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ให้แก่รุ่นต่อไปเป็นวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการกำจัดโรคนี้จึงอยู่ที่การป้องกันโรค โดยการตัดวงจรที่ทารกแรกเกิด ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่เด็กที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะ และถ้าเป็นไปได้ควรฉีดวัคซีนนี้แก่ทารกทุกคนที่เกิดมา ซึ่งย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ตรงกันข้าม ผู้ใหญ่เมื่อรับเชื้อแล้วมีโอกาสจะเกิดอาการตับอักเสบได้มากกว่า คือประมาณ 1 ใน 8 ดังได้กล่าวมาแล้ว โอกาสที่จะกลายเป็นพาหะก็น้อยกว่าของทารกมาก และระยะเวลาของการเป็นพาหะก็มักจะสั้นกว่าของทารก เพราะส่วนใหญ่จะสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ดังนั้นทารกที่เป็นพาหะเมื่อย่างเข้าวัยกลางคนจึงมีโอกาสกลายเป็นโรคตับเรื้อรัง, ตับแข็ง และมะเร็งตับ ดังตัวอย่างการศึกษาในไต้หวันดังกล่าว ที่น่าสนใจก็คือ โอกาสเสี่ยงต่ออันตรายระหว่าผู้ชายกับผู้หญิง ก็ยังแตกต่างกัน
ในทางการเพศชายเมื่อโตขึ้นจะมีโอกาสเป็นโรคตับเรื้อรังรวมทั้งโรคมะเร็งตับได้มากกว่าเพศหญิง
ส่วนทารกเพศหญิงแม้ว่าโตขึ้น จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้องรังน้อยกว่าเพศชายก็ตาม แต่ก็มักจะกลายเป็นคุณแม่ที่เป็นพาหะและถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ให้แก่รุ่นต่อไปเป็นวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการกำจัดโรคนี้จึงอยู่ที่การป้องกันโรค โดยการตัดวงจรที่ทารกแรกเกิด ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่เด็กที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะ และถ้าเป็นไปได้ควรฉีดวัคซีนนี้แก่ทารกทุกคนที่เกิดมา ซึ่งย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น