เชื้ออีโคไล E.coli เชื้ออีโคไล E.coli เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ส่วนใหญ่ของเชื้ออีโคไลจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย มีบางสายพันธุ์ของเชื้ออีโคไล เช่น enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) สามารถก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง เชื้อ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) ทำให้เกิดโรคโดยการสร้างและปล่อยสารพิษชื่อ Shiga toxin ซึ่งสามารถทำลายเม็ดเลือดแดงและไตได้ ตัวอย่างที่สำคัญของเชื้อสายพันธุ์ enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) เช่น สายพันธุ์ E.coli O157:H7 และ E.coli serogroup O104 ที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุการระบาดที่เยอรมัน ณ ขณะนี้ องค์การอนามัยโลกระบุว่าในภูมิภาคยุโรปมีการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย หรือ Haemolytic uraemic syndrome (HUS) และติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเยอรมัน และอีก 10 ประเทศในภูมิภาคยุโรป ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่กลุ่มที่เรียกว่า Enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) หรือ อีโคไลชนิดร้ายแรง สามารถทำให้เลือดออกรุนแรง โดยสร้างพิษ Shiga toxins หรือ vero toxins ซึ่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดและไตได้
การติดต่อ
- เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน เช่น เนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก นมที่ไม่ได้ผ่านขบวนการทำลายเชื้อ นอกจากนี้การปนเปื้อนของเชื้อโรคจากอุจจาระ สู่อาหารและน้ำ อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการเตรียมและการปรุงอาหาร เช่น ผิวของห้องครัวหรืออุปกรณ์ปรุงอาหารที่มีการปนเปื้อน
- เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 7 – 50 องศาเซลเซียส และจะถูกทำลายได้โดยความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
- เคยมีรายงานว่าสามารถเพาะเชื้อขึ้นจากบ่อน้ำ เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นเดือน ในแหล่งน้ำ
- ระยะฟักตัว ระหว่าง 3–8 วัน เฉลี่ย 3–4 วัน
- ส่วนใหญ่จะก่อโรคในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ โดยมักจะเป็นการระบาดชนิดประปราย น้อยครั้งที่จะมีการระบาดใหญ่เหมือนกรณีที่เยอรมัน ซึ่งพบว่าผู้ป่วย 86% เกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
อาการ
• อาการของระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง อุจจาระเหลวมักมีเลือดปน หรือมีมูกเลือด
• มีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้
• ปวดท้อง อาเจียน
• อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต จากไตวาย ซึ่งมักพบกับเด็กเล็ก พบได้ร้อยละ 3 – 7 ของผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการหายภายใน 10 วัน อัตราการป่วย–ตาย ประมาณร้อยละ 3-5
• มีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้
• ปวดท้อง อาเจียน
• อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต จากไตวาย ซึ่งมักพบกับเด็กเล็ก พบได้ร้อยละ 3 – 7 ของผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการหายภายใน 10 วัน อัตราการป่วย–ตาย ประมาณร้อยละ 3-5
การวินิจฉัย
ในผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายเหลว เป็นเลือด ปวดท้อง และมีประวัติเคยเดินทางไป/กลับจากประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมัน ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มป่วย ต้องนึกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ชนิดที่ทำให้เลือดออกรุนแรง (Enterohaemorrhagic E.coli) ที่กำลังมีการระบาดในยุโรปขณะนี้ด้วย
- ซักประวัติเสี่ยงเรื่องประวัติการเดินทางไป/กลับจากประเทศแถบยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมันในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มป่วย
- หากมีอาการถ่ายเหลวเป็นเลือด ปวดท้อง อาจมีความเป็นไปได้ว่า เกิดการติดเชื้อโรคจากเชื้อแบคทีเรีย อี-โคไล ชนิดที่ทำให้เลือดออกรุนแรงที่กำลังมีการระบาดในยุโรปขณะนี้
- แจ้งให้ทีมป้องกันควบคุมโรค เพื่อพิจารณาแจ้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วดำเนินการต่อไป
- เก็บตัวอย่างอุจจาระส่งตรวจที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ หรือส่งผ่านทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว
- ให้การรักษาแบบตามอาการ เช่น น้ำเกลือแร่
การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
- ใช้ไม้สวอบที่ปราศจากเชื้อ จุ่มในอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อ บิดให้หมาด สอดไม้สวอบเข้าในทวารหนักลึกประมาณ 2-4 เซนติเมตร หมุนปลายไม้เบาๆ ไปในทิศทางเดียว ให้ปลายสวอบสัมผัสผนังของเยื่อบุทวารหนักให้มากที่สุด คอยๆ ดึงไม้สวอบออก ควรมีอุจจาระติดที่ปลายสวอบ จุมปลายสวอบลงในอาหารวุ้น ให้ลึกเกือบถึงก้นขวด หักปลายไม้ให้เสมอปากขวด ปิดฝาขวดให้สนิท ติดฉลากบอกชือผู้ป่วย อายุ วันและเวลาที่เก็บ อาการของผู้ป่วย นำตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการทันที โดยไม่ต้องแช่เย็น
- เก็บตัวอย่างก่อนผู้ป่วยได้รับยา็่่ปฏิชีวนะ ให้ได้อุจจาระไม่น้อยกว่า 2-8 กรัม หรือประมาณหัวแม่โป้ง ใส่ในภาชนะทีแห้งและสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อแล้วปิดฝาให้สนิท ติดฉลากบอกชื่อผู้ป่วย อายุ วันและเวลาที่เก็บ อาการของผู้ป่วย พร้อมใบนำส่งตัวอย่าง รีบส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 24 ชั่วโมง โดยใช้ไม้สวอบที่ปราศจากเชื้อ ป้ายอุจจาระใล่ในอาหารเพาะเชื้อ แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการโดยไม่ต้องแช่เย็น
- วิธีการตรวจโดยเพาะเชื้อในอุจจาระบนจานอาหารชนิด MacConkey หรือ Sorbitol MacConkey เพาะให้เชื้อแยกเป็นโคโลนีเดียว บ่มจานอาหารในตู้อบเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 18-24 ชั่วโมง
การป้องกัน
- ปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง ห้ามรับประทานอาหารดิบ หรือ ดิบๆ สุกๆ เนื่องจากเชื้อจะถูกทำลายได้โดยความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เก็บถนอมอาหารไว้ในตู้เย็น ไม่ควรวางทิ้งไว้ข้างนอกนานเกิน 2 ชั่วโมง ความร้อนที่สูงกว่า 70 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อได้ สำหรับอาหารค้างมื้อก่อนกินควรอุ่นให้เดือดทั่วถึงก่อนทุกครั้ง
- เก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่างระมัดระวัง เช่น ข้าวกล่อง อาหารถุง หากจะนำมารับประทานใหม่ ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงเสียก่อน ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหารและดื่มน้ำ ต้องทำความสะอาดและเก็บไว้ในที่มิดชิดไม่ให้แมลงวันตอม ใช้ฝาชีครอบอาหารหรือนำใส่ตู้กับข้าวป้องกันแมลงวันตอมอาหาร
- อาหารทารก ต้องนำมารับประทานทันทีหลังปรุงสุก และไม่ควรเก็บไว้ค้างมื้อ
- เลือกอาหารที่มีขบวนการผลิตที่ปลอดภัย ใช้วัตถุดิบที่สะอาดและสด ใหม่ในการประกอบอาหาร
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร และภายหลังการเข้าส้วม อย่าใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกแล้วโดยตรง ควรใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร ก่อนใช้มือหยิบอาหารป้อนเด็ก และหลังใช้ห้องน้ำ – ห้องส้วม ทุกครั้ง เนื่องจากแบคทีเรียสามารถติดต่อและผ่านทางอาหารและน้ำ
- รักษาสิ่งแวดล้อมในครัวให้สะอาด โดยเฉพาะโต๊ะที่ใช้ปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนระหว่างอาหารด้วยกัน เพื่อไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้วปนเปื้อนกับอาหารดิบ เช่น การใช้มีด เขียง ต้องแยกระหว่างอาหารดิบ และอาหารสุก เป็นต้น รวมทั้งแยกประกอบอาหารระหว่างวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารชนิดดิบและที่ปรุงสุกแล้ว
- น้ำดื่ม และน้ำใช้ต้องสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำดื่มบรรจุขวดที่ได้มาตรฐาน และเลือกซื้อน้ำแข็งรับประทานที่ถูกหลักอนามัย
- เลือกซื้อผัก ผลไม้ที่สะอาด ปลอดสารเคมี และยาฆ่าแมลง ลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักสดหรือผลไม้ออกทิ้ง แกะเป็นกลีบหรือแกะใบออกจากต้นหรือตัดส่วนขอบรอบนอกแล้วแช่น้ำสะอาด นานประมาณ 10 – 15 นาที
- ล้างผัก และผลไม้ให้สะอาด ก่อนนำมารับประทาน โดยการเด็ดใบ คลี่ใบล้างผ่านน้ำให้สะอาดหลายๆ ครั้ง ล้างผักด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งและคลี่ใบถู หรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลจากก๊อกแรงพอประมาณให้ไหลผ่านผักสด อย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆในการล้าง เช่น น้ำส้มสายชู เกลือ เป็นต้น
- ใช้ฝาปิดถังขยะ และกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
องค์การอนามัยโลกยังไม่ห้ามการขนส่งกับประเทศที่มีการระบาดและประเทศในแถบยุโรป สำหรับการเดินทาง มิได้มีการระบุถึง ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไป-กลับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการระบาดและประเทศในแถบยุโรป ขอให้เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และล้างมือบ่อยๆ และหากเกิดอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นเลือด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยงให้ทราบ สามารถรับประทานน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายได้ แต่ไม่ควรรับประทานยาระงับการถ่ายหรือยาปฏิชีวนะเอง เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้